เกี่ยวกับวิทยาลัย

วิทยาลัยประมงสมุทรสาคร (SamutsaKhon Fisheries College )

วิทยาลัยประมงสมุทรสาคร ตั้งอยู่ที่เลขที่ 1/2 หมู่ที่ 1 ถนนท่าเสาพัฒนา ตำบลดอนไก่ดี

อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร รหัสไปรษณีย์ 74110

โทรศัพท์ 034-471239  โทรสาร  034-471239 ต่อ 100

E-mail : admin@skfc.ac.th  Website : www.skfc.ac.th

ประวัติสถานศึกษา

วิทยาลัยประมงสมุทรสาคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ แรกเริ่มได้อาศัยพื้นที่ของวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสาครในการจัดการเรียนการสอนไปพลางก่อน ต่อมาได้รับการสนับสนุนการก่อตั้งสถานศึกษาและบริจาคที่ดินโดย คุณยายเทียบ วิยาภรณ์ โดยขอพระราชทานน้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินต่อกองงานในพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระราชวินิจฉัยแจ้งความตามหนังสือสำนักเลขาธิการที่  รก.0008/45075 ลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2547 ทรงเลือกแนวทางจัดตั้งวิทยาลัยประมงโดยให้อยู่ในความดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

ปรัชญา

มีฝีมือ  ถือคุณธรรม  นำอาชีพ

อัตลักษณ์

ทุ่มเท รักองค์กร สามัคคี วิถีพอเพียง

วิสัยทัศน์

วิทยาลัยประมงสมุทรสาคร เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่โลกอาชีพ โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

การจัดการศึกษา

วิทยาลัยประมงสมุทรสาครจัดการเรียนการสอนทั้งหมด 2 ระดับ ได้แก่ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 ทั้งหมด  6 สาขางาน ได้แก่

– สาขางานเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

– สาขางานแปรรูปสัตว์น้ำ

– สาขางานช่างเกษตร

– สาขางานอุตสาหกรรมเกษตร

– สาขางานการบัญชี

– สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)  ใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563 ทั้งหมด 6 สาขางาน ได้แก่

– สาขางานการเดินเรือ

– สาขางานเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

– สาขางานแปรรูปสัตว์น้ำ

– สาขางานการบัญชี

– สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

– สาขางานดิจิทัลมีเดีย

พันธกิจ

1. พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา สู่ความเป็นมืออาชีพ

3. พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ความรู้ ทักษะ สมรรถนะวิชาชีพ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และการเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่

4. ส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยี สารสนเทศ

5. บริการวิชาชีพตามความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น

6. แสวงหาความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ในการจัดการศึกษา

เป้าประสงค์

1. ด้านการพัฒนาผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาวิชาชีพ

2. ด้านการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน

3. ด้านการพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

4. ด้านการบริการวิชาชีพสู่สังคม

5. ด้านการพัฒนานวัตกรรมและการวิจัย

6. ด้านภาวะผู้นำและการจัดการ

7. ด้านมาตรฐานการประกันคุณภาพภายใน

ยุทธศาสตร์

1. สนับสนุนส่งเสริมพัฒนาและเพิ่มศักยภาพครูให้ได้รับการเรียนรู้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง

2. สร้างความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐและเอกชนในการจัดการอาชีวศึกษา

3. ส่งเสริมสนับสนุน งานวิจัย นวัตกรรมเทคโนโลยี และสิ่งประดิษฐ์

4. ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ด้านการใช้คอมพิวเตอร์

5. เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ

6. จัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สอดคล้องกับมาตรฐานอาชีวศึกษา

7. จัดทำระบบการควบคุมดูแลนักเรียน นักศึกษา

8. ขยายโอกาสทางการศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพให้กับประชาชน

9. จัดระบบติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติราชการ

10. สร้างความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพัฒนาอาชีพให้กับประชาชน

กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา

1. สร้างกลไกในการบริหารจัดการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา

2. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3. ส่งเสริม สนับสนุน ครูและบุคลากรให้มีความรู้และทักษะ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. พัฒนาหลักสูตรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและได้มาตรฐานระดับสากล

5. ผลิตและพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะวิชาชีพตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ

6. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูและผู้เรียนเป็นนักวิจัยมืออาชีพที่มีความรู้ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการสร้างและพัฒนางานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม เทคโนโลยี สารสนเทศ สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ

7. พัฒนาหลักสูตรวิชาชีพตามความต้องการของชุมชน

8. บริการวิชาการและวิชาชีพให้แก่ชุมชนเพื่อสร้างงานและสร้างรายได้ให้แก่ผู้เรียนและชุมชน

9. พัฒนาเครือข่าย สร้างความร่วมมือร่วมกับภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและระดับสากล 

10. สร้างความสัมพันธ์กับสถานศึกษาอื่นและชุมชน ด้วยวิธีการที่หลากหลายเพื่อเพิ่มปริมาณผู้เรียน